ขยายธุรกิจครอบครัว

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

ธุรกิจครอบครัวประกอบด้วยความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติหลายรูปแบบ ดังเช่น พ่อกับแม่ร่วมกันก่อตั้งโดยมีลูก ๆ ช่วยงาน สามีภรรยา พี่น้อง สะใภ้หรือเขยกับบุคคลในครอบครัว ฯลฯ ไม่ว่าความสัมพันธ์จะเป็นแบบใด การดำเนินงานของครอบครัวสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์พร้อมกับความขัดแย้งหย่าร้าง แตกหักได้ ถ้าไม่วางหลักการบริหารครอบครัวควบคู่ควบคู่ไปกับ
ธุรกิจให้ดี ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านธุรกิจและครอบครัว จะมีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

1. เมื่อว่าจ้างบุคคลในครอบครัวทำงานในธุรกิจ สถานะของบุคคลนั้นจะเท่าเทียมกับลูกจ้างธรรมดาทุกประการโดยไม่มีสิทธิพิเศษ

2. การจ่ายผลตอบแทนหรือการปูนบำเหน็จใด ควรพิจารณาบุคคลในครอบครัวเท่ากับลูกจ้าง ถ้าบุคคลในครอบครัวยังไม่มีความสามารถจริงทั้งด้านบริหารหรือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่ควรได้รับการปูนบำเหน็จ เพราะจะบั่นทอนกำลังใจของลูกจ้างอื่น ๆ

3. เมื่อแรกเริ่มเข้าทำงาน บุคคลในครอบครัวควรเริ่มจากฝ่ายปฏิบัติการขั้นต่ำสุด และถูกบังคับบัญชาโดยลูกจ้าง

4. ไม่ควรใช้อคติหรือความลำเอียงในการตัดสินใจในธุรกิจครอบครัว

5. ควรชี้แจงนโยบายด้านบุคลากร และโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งให้ลูกจ้างอื่นเข้าใจอย่างชัดเจน ถ้ามีตำแหน่งที่ต้องให้เฉพาะบุคคลในครอบครัวควรบอกล่วงหน้าด้วย

6. ควรวางรากฐานของวัฒนธรรมขององค์การให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ทั้งบุคคลในครอบครัวและลูกจ้าง โดยเฉพาะวัฒนธรรมองค์การที่เป็นจุดเด่นของธุรกิจ

7. ควรทำการเข้าใจระหว่างบุคคลในครอบครัวด้วยกันเอง โดยวางระบบการว่าจ้างเข้าทำงาน การปูนบำเหน็จ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารให้ชัดเจนและปฏิบัติตามอย่าง เคร่งครัด เช่น วางกฎว่าต้องมีประสบการณ์ทำงานที่อื่นมา 5 ปี จึงได้รับการบรรจุตำแหน่ง ถ้าไม่มีประสบการณ์เป็นได้แค่ลูกจ้างชั่วคราว


ขั้นตอนการสืบทอดและไต่เต้าสู่ระดับบริหารของบุคคลในครอบครัว

1. ขั้นก่อนเข้าสู่ธุรกิจ พาลูกเข้าไปดูกิจการอย่างไม่เป็นทางการ ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าธุรกิจนี้เป็นของครอบครัว ให้เขาได้เห็นการทำงานโดยภาพรวม

2. ขั้นแนะนำ แนะนำให้รู้จักกับลูกจ้างพนักงาน ผู้ขายนายธนาคาร ที่ติดต่อธุรกิจด้วยอย่างเป็นทางการ

3. ขั้นเริ่มเข้าทำงาน เริ่มนำสมาชิกในครอบครัวเข้าทำงานโดยใช้เวลาหลังเลิกเรียน หรือปิดภาคเรียนในลักษณะบางช่วงเวลา หรือเป็นลูกจ้างชั่วคราวเพื่อให้เรียนรู้การ ทำงาน หรืออาจให้เริ่มทำงานที่บริษัทอื่นให้ได้ประสบการณ์ก่อน

4. ขั้นบรรจุเข้าทำงาน ให้บุคคลนั้นเข้าทำงานเต็มเวลาเป็นพนักงานในตำแหน่งทั่วไปที่ยังไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร เช่น อยู่ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขนส่ง

5. ขั้นผู้บริหารระดับต้น เริ่มแต่งตั้งบุคคลในครอบครัวที่มีผลงานดีและประสบการณ์มากพอขึ้นเป็นผู้บริหารงานบางแผนก แต่ไม่ควรเป็นทุกแผนกของกิจการพร้อมกัน

6. ขั้นผู้บริหารแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้บริหารที่ดูแลทั่วทั้งกิจการ แต่การตัดสินใจที่สำคัญยังอยู่ที่พ่อแม่หรือผู้บริหารดั้งเดิม เพราะอิทธิพลความเป็นผู้นำของ ผู้บริหารดั้งเดิมยังครอบงำกิจการอยู่

7. ขั้นผู้บริหารเต็มตัว เป็นผู้บริหารที่มีลักษณะความเป็นผู้นำ ครอบงำกิจการได้ทั้งหมด โลกแห่งความฝัน เราจึงต้องมีการวางแผนกันต่อไป