การสร้างความเชื่อมั่น

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

P = Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน เป็นการหาข้อมูล การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจนถูกต้องตรงกันทั้งองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพราะการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันโดยไม่มีแผนดำเนินงาน เป็นไปได้ยากและอาจก่อปัญหาในอนาคตได้ และแผนการดำเนินงานนี้ จะต้องมีความคล่องตัวที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วย เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมต่อทุกสถานการณ์ ทุกเหตุการณ์ ทุกเวลา

D = Do คือการดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้

C = Check คือ การประเมินแผน เป็นการตรวจสอบว่า ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร

A = Action คือ การประเมินแผนเพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนาแผนตามสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละขณะ

เช่นในภาวการณ์ที่เกิดวิกฤติ ผู้ประกอบการทราบดีว่า ตลาดในการจำหน่ายสินค้าจะลดลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ในกรณีเร่งด่วน คือ การหาตลาดเพิ่ม แทนตลาดเดิม ที่อาจมีคำสั่งซื้อลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เคยพึ่งตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้การหาตลาดเพิ่มนั้น ควรทำทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ไม่ควรมองข้ามตลาดใดๆทั้งสิ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น คือ PDCA แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องไม่ลืม คือ การสร้างความเชื่อมั่น สร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและบริการของตนเอง เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจในการบริโภค โดยการสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือในสินค้า จำเป็นที่ผู้ประกอบการ จะต้องดำเนินการในทุกประเภทสินค้า

สสิ่งที่จะต้องทำในการสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือในสินค้า ประกอบไปด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

การสร้างมาตราฐานในสินค้า
เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่าถ้าบริโภคสินค้าแล้ว จะไม่เกิดอันตรายใดๆแก่ผู้บริโภค การที่จะบอกว่า สินค้ามีมาตราฐานหรือไม่นั้น จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานกลาง เป็นผู้บอก ผู้ผลิตบอกเอง จะไม่มีความน่าเชื่อถือ และหน่วยงานกลางที่เป็นผู้บอกก็ต้องเป็นหน่วยงานกลางที่ได้รับการยอมรับจากทุกประเทศ กรณีประเทศไทย มีหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ,

สสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา , สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก และถ้าผู้ประกอบการมุ่งหวังตลาดต่างประเทศ จะมีหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิเช่น สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (ISO) , HACCP , GMP , Food Safety , Codex , OIE , IPPC , COC และล่าสุด ที่มีความสำคัญเพิ่มเป็นลำดับคือ REACH เพราะ หากสินค้าของไทยมีสัญลักขณ์ว่า ได้ผ่านมาตราฐาน เกณฑ์ต่างๆเหล่านี้ แล้ว ผู้บริโภคจะเกิดความเชื่อมั่น และกล้าที่จะซื้อบริโภคด้วยความสบายใจ เพราะระบบการค้าที่ดีที่สุด คือ อย่าทำให้ผู้ซื้อเกิดความไม่สบายใจในสินค้าของเรา เพราะถ้าเมื่อใดมีความไม่สบายใจเกิดขึ้น จะเกิดคำถามต่างๆตามมาอีกมากมาย สุดท้ายของผลคือ การหยุดซื้อ การหยุดใช้สินค้าของเรานั่นเอง

การแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้า
ปัจจุบันเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ยิ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับอาหาร และ ยา ด้วยแล้ว จะให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะหากเกิดปัญหาในการบริโภคสินค้า ผู้ซื้อจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากผู้ผลิตได้ โดยไม่เพียงแค่แสดงว่าผลิตจากที่ใด แต่แสดงถึงวันเดือนปี และ เวลาที่ผลิตตั้งแต่หน่วยผลิตหน่วยแรกด้วย ดังนั้นในฐานะของผู้ประกอบการที่มีความเชื่อมั่นในสินค้าของตนเองแล้ว ย่อมต้องแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าที่บรรจุภัณฑ์

การแสดงส่วนประกอบของสินค้า
และถ้าเป็นสินค้าอาหาร จะบอกปริมาณแคลอรี่จากการบริโภคต่อหน่วยด้วย หรือที่เรียกว่า (***ตัวเข้ม) Ingredient (***จบ/ตัวเข้ม) โดยการแสดงส่วนประกอบของสินค้านี้ จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ซื้อทราบถึงคุณประโยชน์ในการบริโภคสินค้านั้นๆ เพราะในยุคปัจุบันที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การใช้จ่ายเงินต้องให้เกิดการคุ้มค่าสูงสุด นั่นเอง

การสร้างแบรนด์ของสินค้า
จะเป็นสิ่งที่มีขั้นตอน และต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถ้าสร้างได้ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

จจากที่กล่าวมาแล้ว จะเป็นขั้นตอนในการสร้างความเชื่อมั่น สร้างความน่าเชื่อถือในสินค้า โดย เริ่มจาก
1. การแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ซื้อ หรือ การตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อไม่มั่นใจในสินค้าอาหารจากจีน ว่า จะปลอดภัยในการบริโภค หรือไม่ ซึ่งผู้ประกอบการ ของไทยจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานสินค้าให้เกิดขึ้น ด้วยการได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่างๆที่กล่าวมาแล้ว , ด้วยการแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้า , ด้วยการแจ้งส่วนประกอบของสินค้า เป็นต้น

2. การสร้างความจงรักภักดีให้เกิดแก่สินค้าและบริการ เพราะเมื่อผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่นแล้ว จะเกิดความสบายใจที่จะบริโภค จึงเกิดการบริโภคซ้ำ เกิดการซื้อซ้ำ จะเป็นการนำมาซึ่งความจงรักภักดีในสินค้าและบริการ จนสามารถขยายกว้างไปถึงการช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า และ บริการให้กับผู้ประกอบการด้วย

3. การสร้างภาพลักษณ์ หรือ การสร้างตราสินค้า เป็นขั้นตอนของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการจะเห็นได้ชัดว่า สินค้าที่ตราสินค้า หรือที่เรียกว่า สินค้าแบรนด์เนม นั้น คุณภาพไม่แตกต่างจากสินค้าจากไทยมากนัก แต่ว่าราคาแตกต่างกันมากมายหลายเท่าตัว