การจัดชั้นวางสินค้า

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

เป้าหมายโดยรวมของการจัดชั้นวางสินค้า นั้นก็เพื่อทำให้ลูกค้ามาเลือกซื้อในสิ่งที่เราอยากให้ซื้อ และก็สามารถทำกำไรให้กับเรามากที่สุดนั้นล่ะครับ หลาย ๆ ต่อหลายห้างฯ ในปัจจุบันนี้มีการคิดค่านำเอาสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้าไปขาย หรือเพียงแค่นำสินค้าเข้าไปวางที่ชั้นวางสินค้า ไม่ว่าจะมีการขาย เกิดขึ้นหรือไม่แต่ทางเจ้าของสินค้าก็จะต้องจ่ายค่านำสินค้าเข้ามาวางก่อนอยู่ดี ราคาก็จะอยู่ประมาณ 50,000 บาทต่อหนึ่งรายการ ( หมายถึงต่อหนึ่งขนาดบรรจุด้วย )


1. จุดที่เด่นที่สุดของชั้นวางสินค้าก็คือระดับสายตาของลูกค้า เช่น ถ้าเป็นระดับสายตาที่ต้องการขายให้เด็กเล็กก็สามารถเลือกสินค้าเองได้ ก็น่าจะอยู่ชั้นที่ต่ำกว่าสายตาของผู้ใหญ่ลงไป
2. จัดแบ่งพื้นที่ให้สินค้าวางโชว์อยู่ในชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับยอดขายที่คาดว่าจะขายได้ และตามอัตราผลกำไรที่จะได้รับโดยรวมด้วย
3. สินค้าควรจะต้องมีให้เห็นเพื่อขายอยู่บนชั้นวางสินค้าตลอดเวลาเพื่อไม่ให้โอกาสในการขาย
4. กรณีที่สินค้าขาดหายไป จงอย่าเลื่อนเอาสินค้าตัวอื่นมาแทนที่เนื่องจากจะทำให้ลืมได้ว่าตรงบริเวณนั้นสินค้าขาดไป และจะต้องรีบนำมาเติมให้เต็มพื้นที่ที่ จัดเตรียมไว้โดยเร็วที่สุด
5. ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายหรือสลับที่กันกับสินค้าตัวอื่น ๆ ควรจะต้องมีการศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทางฝ่ายจัดซื้อและทางหน้าร้านก่อน จึงจะให้ ทำการย้ายจุดได้
6. ควรมีการปรับปรุงจุดที่จัดวางสินค้าบนชั้นวางสินค้าใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน เพื่อคอยสอดส่องดูว่าผลการดำเนินงานหรือยอดขายและกำไรต่อพื้นที่การขาย ของสินค้าแต่และตัวนั้น
เหมาะสม อยู่หรือไม่
7. การเติมสินค้าบนชั้นวางสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ยกยอดออกมาให้หมดก่อนแล้วจึงเติมสินค้าใหม่จากด้านหลังมา ทั้งนี้จะช่วยในการบริหารสินค้าที่นำมา วางจำหน่ายไม่ให้มีสินค้า
เก่าเก็บเหลืออยู่ในชั้นวางสินค้านานจนเกินไป
8. ควรติดป้ายชื่อ ขนาดบรรจุ และราคาสินค้าทุกชนิดไว้ที่ขอบของชั้นวางสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและเช็กได้ตลอดเวลา
9. ชั้นวางสินค้าไม่ควรมีฝุ่นละอองจับ ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชั้นวางสินค้าเองหรือที่ตัวสินค้า
10. ไม่ควรมีของใช้ส่วนตัวของพนักงานซูปเปอร์มาร์เก็ตซุกซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของชั้นวางสินค้า รวมทั้งไม้ปัดขนไก่ ปากกา ผ้าขี้ร้ว ถังซักผ้า จาน ชาม ช้อน ส้อม หรือ แม้แต่ของกิน
11. เอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่มีราคาต้นทุนสินค้า ต้องไม่มีให้เห็นที่ชั้นวางสินค้า
12. เมื่อสินค้าใหม่เข้ามา ควรรีบนำขึ้นวางสินค้าในทันที
13. จัดสินค้าให้แยกตามประเภทของสินค้าและให้เป็นตามแนวดิ่งจากชั้นล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง
14. สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่นิยมให้จัดอยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนและเลือกหยิบซื้อได้โดยเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหานาน
15. สินค้าประเภทที่ “ไม่เห็นไม่ซื้อ” หรือลูกค้าไม่เคยมีความคิดจะซื้ออยู่เมนูการจับจ่ายซื้อของเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว จงพยายามจัดเอาสินค้า ประเภทนี้ วางให้กับสินค้า
ชนิดที่ขายดี หรือเป็นที่ต้องการของลูกค้า
16. กรณีสินค้านั้น ๆ มีหลายขนาด ให้จัดสินค้าเป็นแนวดิ่ง คือให้ขนาดเล็กอยู่บน ขนาดใหญ่อยู่ล่าง เวลาจัดชั้นวางสินค้าพนักงานขายจะได้ ไม่ต้องเหนื่อยมากในการหยิบยก
สินค้าขนาดใหญ่ ๆ ไปไว้ข้างบน และลูกค้าเวลาเลือกหยิบจากชั้นวางสินค้าก็จะได้ไม่ต้องกลัวว่าสินค้าจะตกลงมาใส่หัว
17. ถ้าขนาดใดขายดี ให้เพิ่มพื้นที่ในชั้นวางสินค้าหรือขยายเพิ่มชั้นวาง 2 ชั้นขึ้นไป
18. ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียง 2 ยี่ห้อ และมีเพียงยี่ห้อละ 2 ขนาด ให้เอายี่ห้อที่ขายดีจัดวางชั้นบน และเอายี่ห้อรองวางชั้นล่าง
19. ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดูว่าสินค้าประเภทใกล้เคียงกันในหมวดหมู่เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีให้นำมาขายรวมหมวดกันและจัดวางตามยี่ห้อ เป็นแนวดิ่ง
20. ถ้าสินค้ามีหลายขนาดมาก แต่ละชั้นวางสินค้ามีเพียงไม่กี่ชั้นเราสามารถเพิ่มหรือเสริมชั้นวางสินค้าให้มีหลายชั้นได้
21. ถ้าเป็นสินค้าประเภทกำจัดยุงไฟฟ้า ควรวางแผ่นไว้ข้าง ๆ กันกับเครื่องยี่ห้อเดียวกัน
22. ส่วนที่เป็นน้ำยาฉีดกันยุงทั้งที่เป็นแบบสเปรย์และกระป๋องควรวางไว้ในกลุ่มยี่ห้อเดียวกัน และเรียงตามขนาดตามแนวดิ่ง ส่วนน้ำยาที่เป็นแบบกระป๋องเติม ให้วางไว้ชั้นล่างสุด
23. สินค้าประเภทผ้าอนามัย ควรแบ่งกลุ่มตามแนวดิ่ง และแยกประเภทตามยี่ห้อ
24. ยาสีฟัน ควรแบ่งการวางไว้ตามยี่ห้อ (ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ควรให้อยู่ใกล้กันในหมวดยี่ห้อเดียวกัน)

แนวคิดที่จัดวางสินค้าเป็นแนวดิ่งนี้เนื่องเพราะหากว่าเราจัดวางโชว์สินค้าเป็นแนวนอน เวลาลูกค้าเดินเลือกหาสินค้า แล้วจะเดินผ่านไปเลยและไม่มีโอกาสที่จะเดินย้อนกลับ มาเลือกซื้อสินค้าประเภทอื่นที่วางขายอยู่ที่ชั้นอื่น ๆ อีก การเลือกดูตามขนาดของสินค้าก็เพียงก้ม ๆ เงย ๆ นิดหน่อย ก็สามารถเลือได้สินค้าที่พอใจแล้ว ดังนั้นโอกาสในการ ขายของก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าได้ทั่วไปนั้นเอง

** คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ " ทางรอด SMEs ยุคใหม่ " โดย คณิต สินทบ ISBN 974-90001-2-9