กลยุทธ์การล่อใจลูกค้า

Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ

จัดสินค้าไม่เรียบร้อยเลยขายดี ?
เป็นอย่างที่ว่าจริง ๆ ครับ เวลาผมเดินตามห้างสรรพสินค้าหรู ๆ ที่เขาจัดวางสินค้าเนี้ยบ ๆ บางครั้งเขาก็ยังจัดวางเป็นรูปทรงต่าง ๆ ดูแล้วสวยงามมาก แต่ไม่กล้าเข้าไปหยิบจับดูหรอกครับ ได้แต่มองดูห่าง ๆ เพราะกลัวว่าถ้าเราไปโดนอะไรเข้าแล้วทำให้ซุ้มสินค้าของเขาหล่นหรือพังลงมา ถ้าไม่โดนดุว่าก็อาจถึงต้องเหมาซื้อหมดนั้นแน่เลยเวลาไปเดินตามที่หรู ๆ ส่วนใหญ่ก็เลย ไม่ค่อยเอาเด็กเล็ก ๆ ไปด้วยสักเท่าไหร่ เดี๋ยวเราเผลออาจต้องถึงขั้นขอทุนรัฐบาล ให้เด็กเรียนหนังสือเพราะเอาไปจ่ายค่าสินค้าที่เจ้าตัวเล็กทำพังลงมา


ความจริงของคนทั่ว ๆ ไปก็เป็นอย่างนี้ล่ะครับ แต่ถ้าเห็นเอากระบะไม้มาวางสินค้า แล้วเอาเสื้อผ้ามาวางแบบไม้ได้จัดให้สวยงามเลย คนกลับมุงรื้อเลือกซื้อกันใหญ่ บางทียิ่งกว่าไปนั้น ของที่เอาออกมาให้เลือกซื้อนั้นเขาเทลงไปในลังหรือกล่องใหญ่ ๆ เลย แล้วลูกค้าก็ก้มลงไปคุ้ยเลือกสินค้ากันเอาเอง ดูออกจะลำบากนิดหน่อย แต่คนกับชอบไปคุ้ยหาซื้อ คือรู้สึกว่ามัน ได้ความรู้สึก เลือกซื้อไปด้วยความสนุกสนาน

ที่จริงแล้วบางแห่งราคาขายก็ไม่ได้ถูกไปจากที่วางขายปกติกันหลอกครับ เพียงแต่เลือกเอาสินค้าที่มีวางขายกันอยู่ตามชั้นวางสินค้ามาเปลี่ยนที่ วางขายใหม่ หรือไม่ก็เอามาเทกอง ๆ ลงไป จากนั้นก็เอาป้ายราคาป้ายขนาดใหญ่ ๆ มาปะเข้าไปเท่านั้นลูกก็แห่กันมาหยิบใส่ตะกร้า หรือรถเข็นกันคนละสองสามอันจนหมด แต่สินค้าตัวเดียวกันที่วางขายอยู่ที่ชั้นวางสินค้าปกติกลับไม่มีใครไปเลือกซื้อเลย ทั้งที่เป็นราคาเดียวกัน แต่ผมไม่ได้แนะนำให้ทำกับสินค้าทุกชนิดนะครับ ถ้าเป็นพวกกระป๋องหรืออะไรที่เป็นชิ้นพอจะมองดูโดยรอบได้ง่าย ก็ไม่เป็นไรแต่ถ้าเป็นประเภทเสื้อผ้าสวย ๆ งาม ๆ อาจต้องมีการคัดเอาตัวเด่น ๆ ออกมาโชว์ไว้หน่อย เอาเป็นตัวดึงจุดสนใจลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าจะได้ไปคุ้ยหาต่อกันเอาเอง เผื่อว่าจะเจอเสื้อผ้าที่สวยเท่ากัน หรือสวยกว่าตัวที่โชว์เอาไว้

สินค้าที่วางขายในซูเปอร์มาเก็ตทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ถ้าทางร้านได้จัดเรียงสินค้าให้ครบทุกช่องวางสินค้าเต็มไปหมดจนไม่มีช่องว่างให้เห็น แม้แต่ช่องเดียว ในกรณี สินค้าที่ติดตลาดแล้ว อาจไม่มีผลกระทบเท่าไหร่นักแต่เป็นสินค้าตัวใหม่ที่เพิ่งจะวางตลาดล่ะก็มีหวังต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปเลย เพราะจะมีลูกค้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะกล้าเป็นคนแรกที่จะทดลองสินค้านั้น ๆ

แนวความคิดเช่นนี้อาจมีคนแย้งบ้าง ก็สุดแท้แต่ความคิดของแต่ละคนครับ แต่ทางห้างฯ เค-มาร์ท ที่สหรัฐอเมริกานั้น เวลาฝ่ายบริหารเข้ามาเดินตรวจ ซูปเปอร์มาเก็ตแต่เช้าก่อนห้างฯ เปิดนั้น เมื่อใดก็ตามที่เขามองเห็นที่ชั้นวางโชว์สินค้ามีสินค้าวางอยู่แน่นเต็ม เขาก็หยิบออกมาเสีย 1 ชิ้นให้กับทางผู้จัดการวูปเปอร์มาเก็ตนั้น ๆ เอากลับไปไว้ที่สต๊อกสินค้า เพื่อให้เป็นการ ล่อลูกค้าคิดว่า “อย่างน้อยก็มีคนที่ทดลองซื้อไปใช้ก่อนเราแล้ว 1 คน” หรืออาจคิดว่า “สินค้าตัวนี้น่าจะขายดี เพราะมีคนทดลองซื้อไป ก่อนหน้าเราแล้ว”
ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์ทั้งหลายก็อาจทำใจลำบากเหมือนกัน ถ้าหากว่าต่อไปนี้ไปเดินตรวจตลาดตามร้านค้าต่าง ๆ แล้วเห็นจุดวางโชว์สินค้าของตนเองโหว่บ้าง แหว่งไปบ้าง ก็ขอให้คิดในแง่ดีว่า “นั้นล่ะเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่แสดงว่าสินค้าของเราจะขายดีต่อไปแน่ ๆ เพราะมีคนเริ่มซื้อไปแล้ว” จะได้ลดความคิดที่เป็นอคติกับพนักงานเชียร์สินค้า ที่ส่งมาช่วยจัดวางสินค้าว่าปล่อยให้จุดโชว์สินค้าของบริษัทโหว่ไปบ้าง ทางพนักงานเขาตั้งใจวางให้โหว่อยู่นั้นเองล่ะครับ

** คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ " ทางรอด SMEs ยุคใหม่ " โดย คณิต สินทบ ISBN 974-90001-2-9